Siripa_herbal-tropical Wiki
Advertisement
คำไทย

คำไทย

ชื่ออื่น ๆ : แสด, มะกายหยุม ( ภาคเหนือ ) , คำเงาะ, คำแงะ, คำแสด, คำแฝด ( กรุงเทพฯ ) , ชิติหมัก ( เลย ป, หมากมอง ( เงี้ยว แม่ฮ่องสอน ) , ส้มปู้, จำปู้ ( เขมร-สุรินทร์ ป , ชาด , ดอกชาติ (ภาคใต้), ชาตี, คำยง, ชาดี ( เขมร )

ชื่อสามัญ : Annatto Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bixa orellana linn.

วงศ์ : BIXACEAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 3 เมตร

ใบ : มีลักษณะคล้ายใบโพธิ์ ใบนั้นจะบางเกี้ยงและนุ่มมีสีเขียวเหลือบแดง ใบอ่อนจะมีสีแดง มีความยาว ประมาณ 11-18 ซม. และความกว้างประมาร 8-10 ซม ก้านใบนั้นจะประมาณ 2.5-7 ซม.

ดอก : ดอกนั้นจะออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะออกดอกประมาณ 5-10 ดอก กลีบดอกนั้นจะมี สีขาวปนสีชมพู หรือสีชมพูอ่อน ดอกจะมีอยู่ชั้นเดียว

เกสร : เกสรตัวผู้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก และส่วนเกสรตัวเมียนั้นมีอยู่เพียง 1 อัน

อับเรณู : อับเรณูจะเป็นรูปโค้งงอ จะมีละอองเรณูออกมาทางช่องเปิดทางด้านบน

รังไข่ : รังไข่นั้นจะมีขนรุงรัง ภายในมีช่องอยู่ 1 ช่อง และมีไข่อ่อนอยู่เป็นจำนวนมาก

เมล็ด ( ผล ) : ผลจะมีขนสีแดงเข้มคล้ายผลเงาะ ถ้าผลแก่จัดก็จะแตกออกเป็นสองซีก ภายในผลจะมีเมล็ดเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมากเมล็ดนั้นจะมีเนื้อหุ้มเมล็ดเป็นสีแดง หรือสีแสด

การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด หรือตัดกิ่งนำไปปักชำก็ได้

ส่วนที่ใช้ : เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ด ใบ ดอก เปลือกราก

สรรพคุณ :

เมล็ด หมอพื้นบ้านใช้ทำเป็นยารักษาอาการไข้ เป็นยาหอม เป็นยาฝาดสมาน รักษาโรคหนองในโรคไข้มาลาเรีย โรคพิษจากมันสำปะหลังและสบู่แดง นอกจากนี้ยังนำมาใช้สกัดด้วยน้ำจะให้สี Annatto , arnotto หรือ Orlean ซึ่งเรานำมาใช้แต่งเป็นสีเนย น้ำมัน ไอศกรีมก็ได้ นอกจากจะใช้ แต่งอาหารแล้วยังใช้ผสมในยาขัดหนังจะได้ทำให้หนังมีสีแดงคล้ำ สี Annatto นี้เป็นสีที่ได้รับ อนุญาตให้ใช้เป็นสีแต่งอาหารได้ในหลายประเทศ

เนื้อหุ้มเมล็ด สามารถใช้เป็นยาระบายและขับพยาธิ รักษา โรคผิวหนัง หรือใช้แต่งเป็นสีอาหาร และเนยได้

ใบ ใช้รักษาอาการเจ็บคอ ลดไข้ รักษาบิด ขับปัสสาวะรักษาโรคดีซ่าน และยังใช้รักษาเนื่องจาก ถูกงูกัด ดอก หมอพื้นบ้านใช้ปรุงเป็นยาบำรุงเลือดให้สมบูรณ์ รักษาอาการแสบร้อน คันตามผิวหนัง รักษาโรคโลหิตจางและเป็นยารักษาโรคบิด ไตพิการ

เปลือกราก ใช้ป้องกันโรคไข้มาลาเรีย ลดไข้ โรคหนองใน

อื่น ๆ : พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาแสบร้อน และได้นำมาปลูกในประเทศที่มีอากาศร้อนทั่ว ๆ ไป นิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับให้สวยงาม

ถิ่นที่อยู่ : มีถิ่นกำเนิดอยู่อเมริกาเขตร้อน

หมายเหตุ : วิธีการเตรียมสีจากเมล็ดคำไทยนี้ จะต้องแกะเมล็ดออกจากผลที่แก่จัด แล้วนำมาแช่น้ำร้อนหมักทิ้ง ไว้หลาย ๆ วัน เพื่อทำให้สารสีตกตะกอน แล้วจึงแยกเมล็ดออก แล้วนำน้ำสีที่ได้ไปเคี่ยวจนน้ำเกือบ แห้ง แล้วจึงนำไปตากแดดจนแห้งเป็นผงแล้วเก็บไว้ใช้ได้

อ้างอิง : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

Advertisement