Siripa_herbal-tropical Wiki
Advertisement

ชื่อวิทยาศาสตร์เฟิร์น : Oleandra pistillaris (Sw.) C.Chr.                       

ชื่อวงศ์ : OLEANDRACEAE                      

ชื่อท้องถิ่น : นาคราช (ภาคเหนือ ภาคใต้) ว่านนาคราช พญางู (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้) นาฆอ (มาเลย์ ภาคใต้)

        รายละเอียดทั่วไป

ถิ่นอาศัย : พบตามป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง 700-1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เลื้อยเกาะต้นไม้หรือขึ้นเป็นพุ่มบริเวณที่ได้รับแสงแดดจัดหรือมีร่มเงาเล็กน้อย

แหล่งที่พบ : ประเทศไทยพบทางภาคใต้

สถานภาพในไทย : ยังคงพบได้ทั่วไปในป่าดิบเขาในหลายพื้นที่ (IUCN: LC)

ลักษณะลำต้น : ลำต้นเป็นเหง้าหนาตั้งตรงหรือทอดเอน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ปกคลุมด้วยเกล็ดหนาแน่นทั่วทั้งเหง้า แตกกิ่งสาขาเป็นพุ่มและออกใบเป็นกลุ่มที่ปลายยอด ช่วงต่อโคนก้านใบกับเหง้าสูงประมาณ 5 มม.

เกล็ด : เกล็ด แนบกับเหง้าเรียงซ้อนเหลื่อมกัน รูปขอบขนาน ขนาดประมาณ 5X1.8 มม. ปลายทั้งสองด้านเรียวแคบลงกลมมน หรือเป็นรูปลิ่ม มีสีสองสีจุดติดตรงกลางเป็นสีน้ำตาลเข้ม ขอบสีอ่อนและมีขนอ่อนเห็นได้ชัดเจน

ใบ : ใบเดี่ยว

ก้านใบ : ก้านใบสั้น มีเกล็ดและขนปกคลุม

แผ่นใบ : แผ่นใบรูปหอกกลับ ขนาดประมาณ 40x3 ซม. ปลายสอบเรียวทั้งสองด้าน ขอบเกือบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย

เส้นใบ : เส้นกลางใบนูนขึ้นด้านใต้แผ่นใบ มีเกล็ดและขนปกคลุมหนาแน่น เส้นใบขนานกันปลายอิสระ แตกง่ามหนึ่งหรือสองครั้งใกล้เส้นกลางใบ

เนื้อใบ : เนื้อใบสีเขียวเข้มคล้ายกระดาษ มีขนปกคลุมหรือเกลี้ยง

กลุ่มอับสปอร์ : กลุ่มอับสปอร์รูปไต เกิดเป็นแถวเดี่ยวเรียงไม่สม่ำเสมอใกล้เส้นกลางใบ เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์รูปไตกว้างประมาณ 2 มม.

การปลูกเลี้ยง :ใช้วัสดุปลูกที่มีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำดี ได้รับแสงเกินครึ่งวัน

การขยายพันธุ์ : แบ่งกอ เพาะสปอร์

Advertisement